ค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" สัญญาว่าจะชำระหนี้ห้แก่เจ้าหนี้ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ หนี้ที่ค้ำประกันนี้จะเป็นหนี้อะไรก็ได้ทั้งสิ้น เช่น หนี้เงินกู้, หนี้ค่าสินค้า, หนี้การก่อสร้าง เป็นต้น
หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้
1. ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ
2. ต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้ค้ำประกันรับ
ผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันแล้วก็จะไม่
ได้ประโยชน์เพราะไม่สามารถฟ้องบังคับผู้ค้ำประกันได้
ชนิดของสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. สัญญาค้ำประกันอย่างไม่จำกัดจำนวนกล่าวคือ ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ในจำนวนเท่ากันกับลูกหนี้ด้วย คือ ต้องรับผิดในต้นเงิน ดอกเบี้ย ค่าเสียหายในการผิดนัดชำระหนี้ ค่าภาระติดพัน ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้องบังคับคดีด้วย
2. สัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิดกล่าวคือ ผู้ค้ำประกันได้ระบุจำนวนไว้ว่าจะรับผิด ไม่เกินจำนวนตามที่ได้ระบุไว้เท่านั้น ดังนั้น หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วผู้ค้ำประกันก็จะใช้หนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ เฉพาะเท่าจำนวนที่ตนระบุไว้เท่านั้น
ข้อปฏิบัติในการเข้าทำสัญญาค้ำประกัน
ผู้ใดจะเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ควรปฏิบัติดังนี้
1. อ่านสัญญาค้ำประกันให้ครบถ้วนทุกข้อก่อนลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน
2. หากประสงค์ที่จะค้ำประกันหนี้เพียงบางส่วน ก็ให้เขียนระบุไว้โดยแจ้งชัดในสัญญาค้ำประกันว่าประสงค์ที่จะค้ำประกันเป็น จำนวนเท่าใด
3. หากไม่ประสงค์ที่จะรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะลูกหนี้ร่วมกันแล้ว ก็ต้องดูในสัญญาว่ามีข้อความที่ระบุว่าให้ตนรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้หรือไม่ ถ้าไม่มีจึงค่อยลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน
ถ้าผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ผู้ค้ำประกันมีสิทธิอย่างไร ถ้าผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาคืนจากลูกหนี้เท่าจำนวนที่ตนได้ชดใช้แทนลูกหนี้ไป แล้ว
ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้ค้ำประกันย่อมพ้นจากความรับผิด ไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
1. ถ้าหนี้ที่ตนค้ำประกันนั้นได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว ต่อมาเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด
2. เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด
ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=41de95a8c4d562d7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น