ความทรงจำ

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

การจ้างแรงงาน



    สัญญาจ้างแรงงาน

             สัญญาจ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ลูกจ้าง" ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "นายจ้าง" และนายจ้างตกลงให้สินจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงาน การจ้างแรงงาน รวมถึงการจ้างบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญ จ้างครูสอนหนังสือ จ้างหมอประจำคลินิก สัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายฉบับนี้ เป็นลักษณะการจ้างทั่วๆไป ไม่มีกำหนดเวลาการทำงานที่แน่นอน ไม่ใช่การจ้างงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการจ้างที่จำนวนคนงานไม่มาก เช่นจ้างขนของ จ้างทำงานบ้าน จ้างบรรจุหีบห่อ เป็นต้น

ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน

       1. เป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย คือ มีการตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
       2. เป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ เมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างตามข้อตกลงนายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง
       3. สัญญาจ้างแรงงานไม่มีแบบ คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้
       4. สาระสำคัญอยู่ที่คู่สัญญา คือ เงื่อนไข ข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้าง ค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ขึ้นอยู่กับนายจ้างลูกจ้างจะตกลงกัน
        5. สถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดหาให้ลูกจ้าง
สิทธิของนายจ้าง ลูกจ้าง
        1. มีสิทธิมอบงานหรือไม่มอบงานให้แก่ลูกจ้าง
        2. นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้บุคคลอื่นก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอม
        3. นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ เมื่อพบภายหลังว่า ลูกจ้างไม่มีฝีมือพิเศษตามที่ตกลงกัน
        4. นายจ้างมีสิทธิจ่ายค่าจ้างเมื่องานเสร็จ หากมิได้ตกลงกำหนดจ่ายค่าจ้างไว้
        5. นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง
         6. นายจ้างมีสิทธิไล่ลูกจ้างออกจากงาน โดยไม่ต้องบอกล่าวล่วงหน้า หากลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง ละทิ้งหน้าที่ กระทำความผิดอย่างร้ายแรง
         7. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงาน
          8. ลูกจ้างมีสิทธิให้บุคคลอื่นทำงานแทนได้ เมื่อนายจ้างยินยอม
          9. ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง หากไม่มีข้อตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างงาน
         10. เมื่อนายจ้างเสียชีวิต ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาได้
         11. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าเดินทางกลับ เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง กรณีลูกจ้างอยู่ต่างถิ่น
         12. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับใบสำคัญแสดงการทำงาน เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุด
หน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง

        1. นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้าง การจ่ายค่าจ้างจะจ่ายเมื่อใดก็ได้ตามที่ตกลงกัน หรือจ่ายตามจารีตประเพณีก็ได้
        2. นายจ้างมีหน้าที่ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้กับลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
        3. นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
        4. ลูกจ้างต้องทำงานด้วยตนเอง ยกเว้นนายจ้างยินยอม
        5. ลูกจ้างมีหน้าที่ตกลงทำงานให้นายจ้างตามเวลาที่ตกลงกันไว้ หากไม่ทำตามที่ตกลงกัน นายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างหรือเลิกจ้างได้
        6. ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
ความระงับแห่งสัญญาจ้างแรงาน
         1. เมื่อครบกำหนดเวลาในสัญญา
         2. เมื่องานที่จ้างสำเร็จ
          3. เมื่อลูกจ้างนายจ้างตาย
          4. เมื่อเลิกสัญญาตามกฎหมาย เช่น นายจ้างลูกจ้างทำผิดหน้าที่ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อลูกจ้างขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือขาดคุณสมบัติที่ได้รับรองไว้หรือไร้ฝีมือ เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า หรือเมื่อการทำงานตกเป็นพ้นวิสัย เมื่อนายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงาน เป็นต้น




          ที่มา : http://www.statelessperson.com/www/?q=node/6723

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น