ความทรงจำ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อายุความ


อายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
             บัญญัติเกี่ยวกับอายุความว่า สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นอันขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่ขาดอายุความแล้ว ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ทั้งนี้อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น คู่กรณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือขยายเวลาออกไปหรือย่นเข้ามาไม่ได้    อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป กล่าวคือ กำหนดของอายุความให้เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เวลาที่สามารถหรือที่จะบังคับให้เป็นไปตามสิทธิดังกล่าว แต่ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เริ่มนับระยะเวลาสำหรับอายุความ ตั้งแต่เวลาแรกที่มีการฝ่าฝืนต่อการกระทำนั้น หมายถึง กรณีสิทธิเรียกร้อง ที่ไม่ให้กระทำการใดๆ หากมีการฝ่าฝืนกระทำการที่ห้ามนั้น เมื่อรู้ถึงการกระทำดังกล่าว อายุความที่จะฟ้องร้องตามสิทธิเริ่มต้น ตั้งแต่เวลาที่เริ่มกระทำการฝ่าฝืนดังกล่าว
ส่วนสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ ยังไม่อาจที่จะบังคับตามสิทธิได้ จนกว่าเจ้าหนี้จะได้มีการทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้เสียก่อน อันเป็นเงื่อนไขตามกฎหมาย ให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาที่เจ้าหนี้สามารถที่จะทวงถามการชำระหนี้เป็นต้นไป แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ ลูกหนี้ยังไม่ต้องชำระหนี้ จนกว่าจะผ่านระยะเวลาหรือห้วงเวลาหนึ่งไปแล้วอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปีสิทธิเรียกร้องของรัฐ ที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความสิบปี

               สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล หรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความสิบปี ไม่ว่าสิทธิเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใดสิทธิเรียกร้อง สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระ เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ เงินค้างจ่าย เช่น เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่นๆลักษณะทำนองเดียวกัน ที่มีการจ่ายเป็นระยะเวลาและสิทธิเรียกร้องของ ผู้ประกอบการค้าเพื่ออุตสาหกรรม ผู้ประกอบเกษตรกรรม ผู้ขายสลากกินแบ่งหรือที่คล้ายคลึงกัน (ตาม ปพพ. ม.193/34(1)(2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี ) ให้มีอายุความห้าปี
               สำหรับสิทธิเรียกร้อง เกี่ยวกับการเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบ ค่างานที่ได้ทำ ค่าขนส่ง ค่าโดยสาร ค่าลูกจ้าง ค่าครูอาจารย์ ฯลฯ ตาม ปพพ. ม.193/34 ให้มีอายุความสองปีกรณีสิทธิเรียกร้อง บังคับชำระหนี้ ของผู้รับจำนำ จำนอง ผู้ทรง สิทธิยึดหน่วง ผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ อันตนยึดถือไว้ แม้อายุความหนี้ประธานจะขาดอายุความ และการชำระหนี้ ตามสิทธิที่ลูกหนี้ ไม่รู้ถึงการขาดอายุความ และการรับสภาพหนี้เป็นหนังสือ ใช้สำหรับการฟ้องร้อง ให้มีอายุความสองปี
อายุความสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
        1. ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ ตามสิทธิเรียกร้อง โดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ หรือการชำระหนี้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัย แสดงให้เห็นโดยปริยายว่า ยอมรับสภาพหนี้ดังกล่าว
        2. เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดี เพื่อตั้งหลักฐานตามสิทธิเรียกร้อง หรือเพื่อให้ชำระหนี้
        3. เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
        4. เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
        5. เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใด อันมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี
เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น ไม่นับรวมเข้าในอายุความ และเมื่อเหตุที่ทำให้ และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น