เมื่อมีมรดกก็ย่อมแสดงว่า มีทรัพย์สินที่จะต้องแบ่งให้กับทายาทของเจ้ามรดก โดยเมื่อพูดถึงการแบ่งทรัพย์มรดก บางคนก็อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ก็แค่แบ่งๆ กันไปตามส่วนสัดที่มีอยู่ หรือตามแต่จะตกลงกันเองในกลุ่มของทายาทกันเอง ที่ว่ามานี้ก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะว่าโดยทั่วไปแล้ว ชาวบ้านธรรมดาอย่างเราๆ ก็มักจะทำอะไรอย่างนั้นอยู่แล้ว เช่น ในการแบ่งที่ดิน ทายาทผู้ที่มีความอาวุโสก็จะเป็นผู้จัดสรรแบ่งที่ดินตามส่วนสัด เรียงลำดับตามญาติพี่น้องลดหลั่นกันไป ผู้พี่ก็อาจจะได้รับจัดสรรค์ที่ดินในส่วนทิศเหนือ พี่ผู้รองก็อาจได้ส่วนกลาง ลดหลั้นลงมาเรื่อยๆ ส่วนการแบ่งทรัพย์สินโดยทั่วไป เช่น เงิน ทอง รถ บ้าน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ก็ยิ่งจะแบ่งง่ายเข้าไปใหญ่ และไม่ค่อยจะมีปัญหาตามมา เพราะเมื่อแบ่งกันอย่างไรแล้ว ก็ถือว่าเป็นอันยุติ ต่างคนต่างก็ทำมาหากินกันไป โดยเฉพาะมรดกที่มี
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเพียงคนเดียว ก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ เพราะถือว่า เป็นทรัพย์สินของพ่อแม่ที่จะต้องรักษาเอาไว้ มีอยู่อย่างไงก็เป็นอย่างนั้น
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเพียงคนเดียว ก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ เพราะถือว่า เป็นทรัพย์สินของพ่อแม่ที่จะต้องรักษาเอาไว้ มีอยู่อย่างไงก็เป็นอย่างนั้น
แต่ว่าในเรื่องเดียวกัน สำหรับคนอีกคนหนึ่ง อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่ที่เหตุและปัจจัยต่างๆ ในขณะนั้นว่าเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งบางคนอาจจะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลใช้เวลานานเป็นสิบๆ ปี กว่าจะแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ค่อยนำมาชี้แจงให้ทราบในภายหลังนะครับ
ที่นี้เราก็มาดูถึงวิธีการการแบ่งมรดกกันบ้าง ในการแบ่งมรดกที่เป็นทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้น ส่วนมากมักจะไม่เป็นปัญหาสำหรับทายาท เพราะมีอะไรก็แบ่งๆกันไปอย่างที่เกริ่นกันมาข้างต้นแล้ว ส่วนที่เป็นปัญหาก็คือ ทรัพย์สินมรดกที่มีทะเบียน ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงชื่อในทะเบียนนั้นๆ อย่างเช่น ที่ดิน อาวุธปืน และรวมไปถึงเงินฝากของเจ้ามรดกที่มีอยู่ในธนาคาร ทรัพย์สินมรดกเหล่านี้ ผู้ที่เป็นเจ้าของเท่านั้นถึงจะมีสิทธิจัดการได้ แต่ปัญหาที่มีคือว่า เจ้าของทรัพย์สินที่ว่ามานั้น ได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นเหตุให้ไม่มีใครสามารถจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นมรดกนั้นได้
ดังนั้นในเรื่องนี้ กฎหมายก็ได้เข้ามาเปิดช่องให้สามารถดำเนินการได้ ผ่านตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาล โดยความยินยอมของทายาททุกๆ คน ซึ่งเราเรียกโดยทั่วไปว่า "ผู้จัดการมรดก"
ดังนั้นในเรื่องนี้ กฎหมายก็ได้เข้ามาเปิดช่องให้สามารถดำเนินการได้ ผ่านตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาล โดยความยินยอมของทายาททุกๆ คน ซึ่งเราเรียกโดยทั่วไปว่า "ผู้จัดการมรดก"
ผู้จัดการมรดก คือ "ผู้มีหน้าที่ในการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดก ให้กับทายาทของเจ้ามรดกผู้มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมาย" จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้จัดการมรดกก็คือบุคคลธรรมดาคนหนึ่งนี่เอง ที่ได้รับแต่งตั้ง และมอบหมายหน้าที่ในการจัดการตามความจำเป็น เพื่อที่จะทำการจัดแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท ฉะนั้นแล้วผู้จัดการมรดกนั้น จึงมีหน้าที่ในการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเท่านั้น
ดังนั้นแล้ว ตามความเข้าใจของชาวบ้านโดยทั่วไปที่ว่า "ผู้จัดการมรดก" คือผู้มีอำนาจจัดการเอาทรัพย์มรดกมาเป็นของตัวเองคนเดียว หรือถ้าใครเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ก็มีสิทธิในทรัพย์มรดกที่มีอยู่นั้น ความเข้าใจที่ว่ามานี้ จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
ดังนั้นแล้ว ตามความเข้าใจของชาวบ้านโดยทั่วไปที่ว่า "ผู้จัดการมรดก" คือผู้มีอำนาจจัดการเอาทรัพย์มรดกมาเป็นของตัวเองคนเดียว หรือถ้าใครเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ก็มีสิทธิในทรัพย์มรดกที่มีอยู่นั้น ความเข้าใจที่ว่ามานี้ จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
การจะเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล และก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ก็จะต้องมีการไต่สวนเสียก่อนว่า ผู้ที่ขอมีความสามารถดำเนินการได้ และเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น ซึ่งในกรณีนี้ก็จะมีประเด็นของที่ไปที่มาของผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดก ได้ 2 ประการ คือ
1. เป็นบุคคลที่ผู้ทำพินัยกรรม (เจ้ามรดก) ได้ระบุชื่อเอาไว้ในพินัยกรรม ให้แต่งตั้งเป็นผู้จัดการ
มรดกของเจ้ามรดกเอง ในกรณีนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ทำพินัยกรรมหรือเจ้ามรดก ได้แสดงเจตนาครั้งสุดท้ายไว้ก่อนตาย โดยได้ระบุตัวผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกของตัวเองเอาไว้ก่อนตาย ซึ่งอาจเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเองเลยก็ได้ เช่น ทนายความ เพื่อนของเจ้ามรดก หรือตาสียายสาที่ไหนก็ได้ หรือจะเป็นญาติพี่น้อง หรือตัวทายาทคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อได้ระบุชื่อแต่งตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกเอาไว้ในพินัยกรรมแล้ว ก็จะต้องนำพินัยกรรมฉบับนั้นไปร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมดังกล่าว เป็นผู้จัดการมรดกอีกครั้งหนึ่ง ผู้นั้นถึงจะมีอำนาจดำเนินการจัดการต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกได้ ตามกฎหมาย
2. ทายาท หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ 1. เป็นบุคคลที่ผู้ทำพินัยกรรม (เจ้ามรดก) ได้ระบุชื่อเอาไว้ในพินัยกรรม ให้แต่งตั้งเป็นผู้จัดการ
มรดกของเจ้ามรดกเอง ในกรณีนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ทำพินัยกรรมหรือเจ้ามรดก ได้แสดงเจตนาครั้งสุดท้ายไว้ก่อนตาย โดยได้ระบุตัวผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกของตัวเองเอาไว้ก่อนตาย ซึ่งอาจเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเองเลยก็ได้ เช่น ทนายความ เพื่อนของเจ้ามรดก หรือตาสียายสาที่ไหนก็ได้ หรือจะเป็นญาติพี่น้อง หรือตัวทายาทคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อได้ระบุชื่อแต่งตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกเอาไว้ในพินัยกรรมแล้ว ก็จะต้องนำพินัยกรรมฉบับนั้นไปร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมดังกล่าว เป็นผู้จัดการมรดกอีกครั้งหนึ่ง ผู้นั้นถึงจะมีอำนาจดำเนินการจัดการต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกได้ ตามกฎหมาย
เป็นกรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมระบุแต่งตั้งใครเอาไว้ ในกรณีแบบนี้ ทายาท หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกคนใดคนหนึ่ง สามารถร้องขอต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องขอเป็นผู้จัดกามรดกได้ ซึ่งในเรื่องนี้ ศาลก็จะทำการไต่สวนก่อนที่จะมีการแต่งตั้งเช่นกัน
ส่วนในกรณีของพนักงานอัยการนั้น ก็สามารถร้องขอต่อศาลได้ แต่เป็นในกรณีที่ทายาท หรือผู้ที่มีส่วนได้เสียไม่สามารถดำเนินการได้เอง เช่น ทายาทยังเป็นเด็ก ทายาทเป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบ้า จึงทำให้ไม่มีความสามารถที่จะทำได้ และทายาทที่ว่านั้น ก็ต้องไม่มีญาติพี่น้อง หรือผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นอีก หรือทายาทผู้รับมรดกได้สูญหายไปไหนไม่รู้ หรือเป็นเรื่องที่ทายาทไปอยู่นอกประเทศเสีย เป็นต้น
ผลของการไม่มีผู้จัดการมรดกนั้น ชาวบ้านแถวๆ บ้านนอกก็จะบอกว่าไม่เห็นจะเป็นปัญหาอย่างไร ซึ่งก็น่าจะเป็นจริงดังที่ว่า เพราะว่าชาวบ้านทั้งหลายนิยมที่จะแบ่งทรัพย์มรดกกันเอง แบบพี่แบบน้อง เช่น น้องรองเอาตรงนั้น น้องเล็กเอาทางนี้ ส่วนพี่ใหญ่หน่อยขอโน้นละกัน (ซึ่งอาจจะมากหน่อย) ซึ่งการแบ่งปันของชาวบ้านในสมัยก่อนก็ง่าย และเป็นธรรมด้วยกันทุกฝ่าย เมื่อแบ่งกันเสร็จสรรพต่างคนก็ต่างทำมาหากินกันไป ที่ใครก็ที่มัน แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันนี้ ทรัพย์สินต่างๆ ล้วนแต่มีค่ามีราคาแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินด้วยแล้ว นับว่ามีค่ามหาศาล ไม่ต้องพูดถึงถึงที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองและเป็นย่านการค้าขาย ด้วยเหตุฉะนี้ปัญหาพี่ฆ่าน้อง น้องฆ่าพี่ เพื่อแย่งทรัพย์มรดกจึงเกิดขึ้นในบ้านเราเมืองเรา อย่างที่เห็นๆกัน นี่แหละเข้าเรียกว่า "ทุกข์ของคนมีกะตังค์
ที่มา : http://www.chawbanlaw.com/gkdq_law/folder_gkdg_9/gkdg_9_2.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น